หน้าหลัก > บล็อก > วิธีการ Setup RSTP ให้กับอุปกรณ์ Omada Switch บน Omada SDN Controller

วิธีการ Setup RSTP ให้กับอุปกรณ์ Omada Switch บน Omada SDN Controller

โดย Charoen W

How to setup RSTP on Omada Controller

วิธีการ Setup RSTP ให้กับอุปกรณ์ Omada Switch บน Omada SDN Controller
 

Spanning Tree Protocol (STP) เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน Layer 2 ทำขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลูปในเครือข่าย ดังที่แสดงด้านล่างคือ STP ช่วย:

  •  บล็อกพอร์ตเฉพาะของสวิตช์เพื่อสร้าง Topology ที่ไม่ให้มีการเกิด Loop
  •  ทำการตรวจจับแล้วทำการเปลี่ยนแปลง Topology และสร้าง Topology ใหม่แบบไม่มี Loop โดยอัตโนมัติ

Rapid Spanning Tree (RSTP) หรือมาตรฐาน IEEE 802.1w

 นอกจาก IEEE ได้พัฒนามาตรฐานการทำงานของ Spanning Tree  แล้วยังมีการพัฒนามาตรฐาน RSTP โดยมีฟังก์ชันการทำงานเช่นเดียวกันกับ STP ที่มีการบรรจบกันของ spanning tree ที่เร็วกว่ามาก ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ RSTP มากกว่า STP

 

 

  • Network Topology & Settings Processes (Omada Controller Ver.5)

 

 

วิธีการตั้งค่า

1. เชื่อมต่อ OC300 (Omada Controller) ไปยังเราเตอร์หลัก

2. ตรวจสอบ DHCP Server (โดยทั่วไปจะได้รับจากเราเตอร์) สำหรับที่อยู่ IP ของคอนโทรลเลอร์ หาก Controller ไม่สามารถรับที่อยู่ IP แบบ Dynamic IP จาก DHCP Server

จะใช้ที่ IP address default คือ 192.168.0.253

3. เปิดเว็บเบราว์เซอร์และพิมพ์ IP Address ของ Controller จากนั้นกด Enter (Windows) หรือ Return (Mac) จากนั้นทำการ Setup ตามขั้นตอนจนเสร็จเรียบร้อย

4. ทำการ Adopt Switch เข้าสู่ Controller โดยป้อน Username และ Password ของอุปกรณ์ ( ค่า Default คือ admin ทั้ง Username และ Password )

 

หลังจากทำการ Adopt Switch เข้าสู่ Controller เรียบร้อยแล้วสถานะของ Switch จะโชว์ Connected

 

 

5. ทำการ Config อุปกรณ์แบบ Batch config เพื่อทำให้การตั้งค่านี้ถูกส่งไปยัง Switch ตัวอื่นๆ ที่ต้องการ

เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการจากนั้นกดปุ่ม Done

 

เข้าไปที่ Config > Services แล้วเลือก “RSTP” ให้กับ Switch ทุกตัว

 

 

6. ทำการตั้งค่า Priority ของ Switch แต่ละตัวโดยเลือก Switch และไปที่ Config > Services

Priority คือ คือพารามิเตอร์ที่ใช้ในการกำหนด Root Bridge โดยที่ช่วงของ Priority คือ 0 ถึง 61440 โดยเพิ่มทีละ 4096 และค่าเริ่มต้นคือ 32768 ยิ่งตัวเลขน้อยเท่าไหร่ โอกาสที่ Switch นั้นจะถูกเลือกให้เป็น Root Switch จะมีมากขึ้น ซึ่งพอร์ตต่างๆ จะทำงานภายใต้การทำงานปกติ เราควรกำหนดลำดับความสำคัญของแต่ละ Switch ตาม Network Topology เช่น core switch มีค่าลำดับความสำคัญต่ำกว่าตัวอื่นๆ

 

7. ทำการ Enable STP ให้กับ Port ของ Switch

วิธีที่ 1 เข้าไปที่ Switch แล้วไปที่ Port จากนั้นเลือกพอร์ตที่ควรมีส่วนร่วมใน STP คลิก " Edit Selected" เลือก "Profile Overrides" ตั้งค่าการ Loopback Control เป็น Spanning Tree และปล่อยให้พอร์ตอื่นๆ เป็น Keep Existing (ตั้งค่าทุก Port ที่เชื่อมต่อ loop)

 

8. การตรวจสอบสถานะหลังจาก Setup RSTP

 

ในสวิตช์ TP-Link สถานะพอร์ตประกอบด้วย Blocking, Learning, Forwarding และ Disconnected

Blocking:  คือสถานะของพอร์ตที่ถูกบล็อก พอร์ตรับและส่ง BPDU ในขณะที่แพ็กเก็ตอื่นๆ ถูก drop ไป (RSTP จะเรียก Discarding แทนที่จะเรียกว่า Blocking)

Learning: คือพอร์ตรับและส่ง BPDU ในขณะเดียวกันยังได้รับแพ็กเก็ตผู้ใช้อื่นๆ เพื่อ update ใน MAC Address Table แต่ไม่ได้ส่งต่อ นี่คือสถานะเปลี่ยนผ่าน

Forwarding:คือสถานะของพอร์ตในการทำงานปกติ พอร์ตรับและส่ง BPDU และในขณะเดียวกันก็ยังได้รับแพ็กเก็ตผู้ใช้อื่นๆ เพื่อ update ใน MAC Address Table และส่งต่อ

Disconnected: พอร์ตเปิดใช้งานด้วย STP แต่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใดๆ

 

 

 

*********************************************************

Charoen W

บทความที่แนะนำ

From United States?

Get products, events and services for your region.