หน้าหลัก > บล็อก > TP-Link Omada SDN Cloud Management ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ Access Point, Switch และ Router

TP-Link Omada SDN Cloud Management ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ Access Point, Switch และ Router

โดย Kittipun A

Omada SDN Cloud Management

วิธีการติดตั้งและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ Wi-Fi

            ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนว่า Omada SDN Cloud คืออะไรและมีหน้าที่ในการทำอะไรบ้าง Omada SDN Cloud นั้นคือระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ Access Point, Switch และ Router ต่างๆ ผ่านระบบ เครือข่าย Internet ของ TP-Link และเป็นศูนย์กลางในการตั้งค่าและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เราสะดวกมากขึ้นในการควบคุมอุปกรณ์หลายๆ ตัวพร้อมกัน

ในการติดตั้งนั้นหลายๆ คนอาจจะยังกังวลว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรและใช้อุปกรณ์แบบใดบ้าง?

ในบทความนี้ จะช่วยให้คุณสามารถทำการวางแผนการติดตั้งและเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานมากที่สุด

Access Point (TP-Link) จะมี Access Point อยู่ด้วยกัน 3 แบบดังนี้

  • 1. แบบติดตั้งบนเพดาน EAP Series (Ceiling) เหมาะสำหรับการติดตั้งในห้องประชุม โถงทางเดิน ห้องทำงาน หรือสำนักงานต่างๆ เน้นการติดตั้งบนเพดาน (Celling mount, Wall mount)
  • 2. แบบติดตั้งบนผนัง EAP Wall plate series (Wall-Plate) เหมาะสำหรับการติดตั้งตามห้องพักโรงแรมหรือหอพักต่างๆ เน้นความสวยงามและต้องการใช้งาน Lan เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายเช่น Smart TV, IP Phone ต่างๆ                        Wall Plate
  • 3. แบบติดตั้งภายนอก EAP Outdoor (Outdoor) เหมาะสำหรับการติดตั้งภายนอกสถานที่ที่ต้องเจอแดด เจอฝน ต่างๆ เช่น สระว่ายน้ำ ภายนอกอาคาร (Pole mount, Wall mount) มาตรฐาน IP65 weather proof

การสำรวจก่อนติดตั้ง

การสำรวจก่อนติดนั้นคือสิ่งสำคัญเป็นมากในการติดตั้ง Access Point เนื่องจากถ้าเราทำการติดตั้งจากการดูแผนผังโครงสร้างหรือจากภาพเพียงอย่างเดียว เราอาจจะไม่สามารถเห็นว่ามีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อสัญญาณ Wi-Fi ของเรา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าแรงสูง, กระจกสะท้อน, ห้องน้ำ/ห้องอาบน้ำ เป็นต้น ดังนั้นการสำรวจหน้างานจริงจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับการติดตั้ง Access Point เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่สูงที่สุด

หลังจากทำการสำรวจพื้นที่จริงแล้ว เราก็จะมาวางแผนเพื่อวางอุปกรณ์ Access Point ต่างๆ ให้ได้ตามที่ต้องการ

ต่อไปเราก็จะมาท าการเลือกอุปกรณ์ว่าจะติดตั้ง Access Point ประเภทใดและใช้ Wi-Fi แบบไหน ซึ่ง Wi-Fi ก็จะแบ่งออกเป็นมาตฐานต่างๆ เช่น

             

             จากตารางจะเห็นได้ว่ามีมาตฐาน Wi-Fi หลากหลายแบบซึ่งเราก็ทำการเลือกตามความเหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุด

อุปสรรคในการติดตั้ง Access Point

          แน่นอนว่าการเป็นสัญญาณไร้สายนั้นไม่มีอะไรที่มั่นคง ดังนั้นเราจึงต้องลดการรบกวนสัญญาณให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วอะไรบ้างที่จะเป็นสิ่งที่จะมาลดทอนสัญญาณ Wi-Fi ของเรานอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่นห้องน้ำหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแรงสูงที่ยังมีผลต่อการกระจายสัญญาณ Wi-Fi แม้กระทั้งสัญญาณ Wi-Fi ด้วยกันเอง ดังนั้นในการสำรวจเราจะต้องทำการตรวจสอบอุปสรรคต่างๆ ด้วยเช่นกัน

การติดตั้ง Access Point แบบต่างๆ

   

การเลือกใช้งาน Controller

การเลือกใช้งาน Controller นั้นก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนการใช้งาน Access Point ความต้องการของผู้ใช้งานจะสะดวกเลือกใช้งานแบบใด ซึ่ง TP-Link เองก็มี Controller ให้เลือกใช้งานได้ถึง 3 รูปแบบดังนี้

จากตารางจะแสดงให้เห็นว่า Controller ในแต่ละแบบจะมีจุดเด่นที่ต่างกันดังนั้นเราจึงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับระบบของเราให้มากที่สุด

มาถึงช่วงสุดท้ายนี้ก็จะเป็นในส่วนของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน TP-Link Solution จะเน้นการเชื่อมต่อที่ง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ทำการเชื่อมต่อ Switch และ Access point จาก Router และนำ Controller ทำการเชื่อมต่อกับ Switch ก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำ Controller ไปเชื่อมต่อขั้นอุปกรณ์ใดๆ

หากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการติดตั้งหรือความสามารถของอุปกรณ์สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางต่าง ด้านล่างนี้ได้เลย

 

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

วิธีการติดตั้งระบบ Mesh Network จาก Omada

Guest network ความปลอดภัยของ WiFi สำหรับคนเพื่อนเยอะ

PoE Switch กับ Access Point มีความสำคัญต่อกันอย่างไร

Kittipun A

บทความที่แนะนำ

From United States?

Get products, events and services for your region.